วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

จัดทำโดย นาย อดุลย์ เกตุศรี เลขที่ 4 ม.4/2 โรงเรียนสตีนนทบุรีบางใหญ่(นนทกิจพิศาล)

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

                            สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
                                                         
 
 
พระราชประวัติ
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าปราสาททอง
และ พระนางเจ้าสิริกัลยานี อัคร-ราชเทวีพระราชมารดาเป็น พระราชธิดา
ในสมเด็จพระ-เจ้าทรงธรรม เสด็จพระราช-สมภพ เมื่อ วันจันทร์
เดือนยี่ ปีวอก พ.ศ. 2175
 
 
ครองราชย์
การครองราชย์ราชวงศ์ปราสาททองทรงราชย์ พ.ศ.2199- พ.ศ. 2231 
 ระยะเวลาครองราชย์32 ปี พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 27
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนปลายรัชกาลก่อนหน้าสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา
รัชกาลถัดมาสมเด็จพระเพทราชา สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เสด็จสวรรคต พ.ศ. 2231
 
 
พระราชกรณียกิจ
 
ด้านการทหาร
 
ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ทรงปราบปรามเมืองน้อยใหญ่
ให้เป็นมาสวามิภักดิ์ ทั้งหัวเมืองทางเหนือ เช่น เชียงใหม่ ลำพูน
ส่วนศึกกับพม่าแม้จะมีอยู่ในเวลานี้ แต่ก็ทรงจัดทัพตีพ่ายกลับไปอยู่เนืองๆ
กิจการของกองทัพนับว่ารุ่งเรืองและยิ่งใหญ่สมเด็จพระนารายณ์
เองก็ทรงชำนาญในการศึก คล้องช้าง และทรงซื้ออาวุธจากต่างชาติ
สำหรับกิจการของกองทัพด้วย
 
การต่างประเทศ
 
มีการติดต่อทั้งด้านการค้าและการทูตกับประเทศต่างๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น
อิหร่าน อังกฤษ และฮอลันดา มีชาวต่างชาติเข้ามาในพระราชอาณาจักร
เป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันยังโปรดฯ ให้แต่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี
กับราชสำนักฝรั่งเศส ในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ถึง 4 ครั้งด้วยกัน
ผู้ที่เขียนเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยาและสยามมากที่สุด
ในสมัยนี้ก็คือ มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์
 
วิทยาการสมัยใหม่
 
พระองค์ยังทรงรับเอาวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ เช่น กล้องดูดาว
 และยุทโธปกรณ์บางประการ รวมทั้งยังมีการรับเทคโนโลยีการสร้างน้ำพุ
จากชาวยุโรป และวางระบบท่อประปาภายในพระราชวังอีกด้วย
 
ด้านวรรณกรรม
 
สมเด็จพระนารายณ์นับว่าเป็นทั้งนักรบและกวี
ทรงพระ-ราชนิพนธ์วรรณคดีไว้หลายเรื่อง เช่น
*โคลงพุทธไสยาสน์ป่าโมก
*โคลงพาลีสอนน้อง
*โคลงทศรถสอนพระราม
*ราชสวัสดิ์
*ราชาณุวรรต
*ประดิษฐ์พระร่วง
*สมุทรโฆษคำฉันท์ (ตอนกลาง)
*คำฉันท์กล่อมช้าง (ของเก่า) เป็นต้น
พระราชกรณียกิจด้านดาราศาสตร์
ในระหว่างปีพุทธศักราช 2228-2230รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
คณะ-บาทหลวงเจชูอิตชาวฝรั่งเศส ได้มาเผยแพร่ดาราศาสตร์
ในประเทศไทย มีสิ่งก่อสร้าง เช่น หอดูดาววัดสันเปาโล
เป็นหอดูดาวแห่งแรกในประเทศไทย
       นอกจากนี้ในวันที่ 30 เมษายน พุทธศักราช 2231
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง
ที่พาดผ่านแม่น้ำกฤษณะในประเทศอินเดีย พม่า จีน ไซบีเรีย
ไปสิ้นสุดในทวีปอเมริกา สำหรับประเทศไทยเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงกล้องทอดพระเนตร
จันทรุปราคาเต็มดวงใน คืนวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2228
ร่วมกับคณะบาทหลวงชาวฝรั่งเศส ณ พระตำหนักทะเลชุบศร เมืองลพบุรี
 
 
 
                                     

ภาพสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จออกโปรดเกล้าฯ ให้คณะราชทูตจากฝรั่งเศสเข้าเฝ้า
 

      คณะราชทูตไทยเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส
 

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

 

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช 
พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ.2098 - 25 เมษายพ.ศ. 2148) พระนามเดิมว่า พระองค์ดำ โอรสของสมเด็จพระมหาธรรมราชา และ พระวิสุทธิกษัตริย์ (พระราชธิดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ) พระองค์เสด็จพระราชสมภพที่เมืองพิษณุโลก ทรงมีพระเชษฐภคิณีคือพระสุพรรณกัลยาทรงมีพระอนุชาคือสมเด็จพระเอกาทศรถ(องค์ขาว) และทรงเป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย พระนามของพระองค์ปรากฏในลายลักษณ์อักษรหลายฉบับ เช่น พระนเรศวรราชาธิราช จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่าพระนามนเรศวรได้มาจากที่ใด สันนิษฐานเบื้องต้นว่า เพี้ยนมาจากสมเด็จพระนเรศวรราชาธิราชเป็นสมเด็จพระนเรศวรราชาธิราช
 
 
พระราชประวัติเมื่อทรงพระเยาว์กับชีวิตและการศึกษาในหงสาวดี
      ตลอดระยะเวลาในวัยเยาว์ของพระนเรศวรทรงใช้ชีวิตอยู่ในพระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก จนกระทั่งเมื่อพระเจ้าบุเรงนองยกทัพมาตีเมืองพิษณุโลก สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าเมืองพิษณุโลกยอมอ่อนน้อมต่อแห่งหงสาวดี และทำให้พิษณุโลกต้องแปรสภาพเป็นเมืองประเทศราชหงสาวดีไม่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าบุเรงนองได้ทรงขอพระนเรศวรไปเป็นองค์ประกันที่หงสาวดี ทำให้พระองค์ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนตั้งแต่มีพระชนม์มายุเพียง 9 พรรษานอก จากพระองค์แล้วยังมีองค์ประกันจากเมืองอื่น ๆ ที่เป็นเมืองขึ้นของหงสาวดีเป็นจำนวนมาก พระเจ้าบุเรงนองนั้นทรงให้เหล่าองค์ประกันได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษา อย่างดี พระนเรศวรทรงใช้เวลา ๘ ปีเต็มในหงสาวดีศึกษายุทธศาสตร์ของพม่า พระองค์ทรงศึกษาวิชาศิลปศาสตร์ และวิชาพิชัยสงคราม ทรงนิยมในวิชาการรบทัพจับศึก พระองค์ทรงมีโอกาสศึกษา ทั้งภายในราชสำนักไทย และราชสำนักพม่า มอญ และได้ทราบยุทธวิธีของชาวต่างชาติต่าง ๆ ที่มารวมกันอยู่ในกรุงหงสาวดีเป็นอย่างดี เช่น ชาวโปรตุเกส สเปน หรือชาวพม่าเอง ทรงนำหลักวิชามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับเหตุการณ์ และสภาพแวดล้อมในการทำศึกได้เป็นเลิศ ดังเห็นได้จากการสงครามทุกครั้งของพระองค์ ยุทธวิธีที่ทรงใช้ ได้แก่ การใช้คนจำนวนน้อยเอาชนะคนจำนวนมาก และยุทธวิธีการรบแบบกองโจร พระองค์ทรงนำมาใช้ก่อนจอมทัพที่เลื่องชื่อในยุโรป นอกจากนั้น หลักการสงครามที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เช่น การดำรงความมุ่งหมาย หลักการรุก การออมกำลัง และการรวมกำลัง การดำเนินกลยุทธ ความเด็ดขาดในการบังคับบัญชา การระวังป้องกัน การจู่โจม ฯลฯ พระองค์ก็ทรงนำมาใช้อย่างเชี่ยวชาญ และประสบผลสำเร็จอย่างงดงามมาโดยตลอด เนื่องจากการที่พระองค์มีชีวิตอยู่ในฐานะองค์ประกันทำให้ทรงมีความกดดันสูง จากมังกะยอชวา (พระราชโอรสในพระเจ้านันทบุเรง) จึงทรงมีแรงผลักดันที่จะกอบกู้อิสรภาพให้กับบ้านเมืองของพระองค์ เช่น จากการชนไก่ของพระองค์กับมังกะยอชวา เป็นต้น รวมทั้งการเหยียดหยามว่าเป็นเชลย จากพวกพม่าด้วย
 
ทรงประกาศอิสรภาพ
      วัน ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2127 สมเด็จพระนเรศวรฯเดินทัพมาถึงเมืองแครง ด้วยบุญญาธิการทรงปฏิบัติตนเป็นที่เคารพรักของชาวมอญ จึงมีพรรคพวกคนมอญมาก แม้กระทั่งพระมหาเถรคันฉ่องก็ได้นมัสการท่านอยู่ประจำจนชอบพอคุ้นเคย และเมื่อบังเอิญเกิดความวุ่นวายทางเมืองพม่า พวกมอญที่เกลียดและประสงค์จะเป็นอิสระจากพม่าอยู่แล้วรวมทั้งพระยาเกียรติ พระยารามจึงจำเป็นต้องพึ่งพากองทัพไทยสมเด็จ พระนเรศวรฯได้พักทัพตั้งพลับพลาอยู่ใกล้วัดพระมหาเถรคันฉ่อง เมื่อเสด็จไปนมัสการ มหาเถรคันฉ่อง จึงได้ทรงทราบว่าพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงคิดกำจัดพระองค์ จึงรับสั่งให้ประชุมแม่ทัพนายกองรวมทั้งชาวมอญ ทั้งหลายในเมืองแครงด้วย และเข้าใจกันว่าโปรดให้พระมหาเถรคันฉ่องมานั่งเป็นประธานในพิธีด้วย
สมเด็จพระนเรศวรฯทรงหลั่งน้ำจากสุวรรณภิงคารลงเหนือแผ่นดิน ประกาศแก่เทพยดาต่อหน้าที่ประชุมว่า
 
 
 
 
" ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปกรุงศรีอยุธยาขาดพระราชไมตรีกับกรุงหงสาวดี
มิได้  ป็นมิตรกันดังแต่ก่อนสืบไป "
 
 
ใน ปีที่ทรงประกาศอิสรภาพ สมเด็จพระนเรศวรฯทรงมีพระชนมายุได้ 29 พรรษาหลังจาก ประกาศอิสรภาพ แล้วจากนั้นจึงยกกองทัพหลวงจากเมืองแครงไปตีเมืองหงสาวดี
 
 
 
 
สงครามยุทธหัตถี
ตลอด รัชสมัยของพระองค์ทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากหงสาวดี และได้ทำสงครามกับอริราชศัตรูทั้งพม่าและเขมร จนราชอาณาจักรไทยเป็นปึกแผ่นมั่นคง ขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาลกว่าครั้งใดในอดีตที่ผ่านมา ทรงมีพระปรีชาสามารถในการนำทัพ ทรงริเริ่มนำยุทธวิธีแบบใหม่มาใช้ในการทำสงคราม
     
การ สงครามกับพม่าครั้งสำคัญที่ทำให้พม่าไม่กล้ายกทัพมารุกรานไทยอีกเลย เป็นเวลาเกือบสองร้อยปีคือ สงครามยุทธหัตถี เมื่อปี พ.ศ. 2135 นั่นคือเมื่อหงสาวดีนำโดยพระมหาอุปราชามังสามเกียดยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา อีกครั้ง สมเด็จพระนเรศวรก็นำทัพออกไปจนปะทะกันที่หนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี บ้างก็ว่าจังหวัดกาญจนบุรี สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาจนกระทั่งสามารถเอาพระ แสงง้าวฟันพระมหา-อุปราชาขาดสะพายแล่ง สิ้นพระชนม์อยู่กับคอช้างนั่นเอง
 
 
 
 
พระราชกรณียกิจ
พ.ศ. 2113 เสด็จออกร่วมรบกับทหารโดยขับไล่กองทัพเขมรได้สำเร็จ
พ.ศ. 2114 ได้รับสถาปนาให้ปกครองเมืองพิษณุโลก เมื่อพระชนมายุ 16 พรรษา
พ.ศ. 2117 เสด็จไปรบที่เวียงจันทน์ เผอิญทรงประชวรเป็นไข้ทรพิษจึงเสด็จกลับ
พ.ศ. 2121 ทรงทำสงครามขับไล่พระยาจีนจันตุออกไปจากกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ. 2127 ทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง และกวาดต้อนคนไทยกลับพระนคร
พ.ศ. 2127-พ.ศ. 2130 พม่ายกกองทัพมาตีไทยถึง 4 ครั้ง แต่ถูกไทยตีแตกพ่ายกลับไป
พ.ศ. 2133 ทรงเสด็จครองราชย์ ณ กรุงศรีอยุธยาเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา
พ.ศ. 2135 ทรงทำสงครามยุทธหัตถี และมังกะยอชะวา สิ้นพระชนม์
พ.ศ. 2136 ทรงยกกองทัพไปตีเขมรและจับพระยาละแวกทำพิธีปฐมกรรม
พ.ศ. 2138 และ พ.ศ. 2141 ทรงกรีฑาทัพไปตีกรุงหงสาวดี ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2
พ.ศ.2148 ทรงกรีฑาทัพไปตีกรุงอังวะ เมื่อ ไปถึงเมืองหางหรือเมืองห้างหลวงทรงพระประชวร เป็นหัวระลอกขึ้นที่พระพักตร์ เสด็จสวรรคต ณ ทุ่งแก้ว เมืองห้างหลวง ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง พระชนมายุ 50 พรรษา ครองราชย์สมบัติได้ 15 ปี
 
สวรรคต
      พ.ศ. 2137 พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงก็ให้พระเจ้าแปรมาตีกรุงศรีอยุธยาแต่ก็แตกทัพกลับไป พ.ศ. 2142 เสด็จออกไปตีกรุงหงสาวดี พระเจ้าหงสาวดีหนีไปเมืองตองอู กองทัพอยุธยาตามไปถึงเมืองตองอูแต่ขาดเสบียง พ.ศ. 2147 ยกกองทัพไปกรุงหงสาวดีอีกครั้งถึงเมืองหาง (ใน พงศาวดารบางฉบับว่าเมืองห้างหลวง) อันเป็นเมืองอยู่ชายพระราชอาณาเขตในสมัยนั้น เมื่อปลายเดือน 5 ปีมะเส็ง พ.ศ. 21480ได้เสด็จประทับแรมอยู่ ณ ตำบลทุ่งแก้ว เกิดประชวรเป็นหัวระลอกขึ้น (บ้างว่าถูกตัวสัตว์พวก แมลงมีพิษต่อย) ที่พระพักตร์แล้วเลยเป็นบาดพิษจนเสด็จสวรรคตที่เมืองหาง เมื่อวันจันทร์ เดือน 6 ขึ้น 8 ค่ำ พ.ศ. 2148 เรื่องวันสวรรคตนี้มีรายละเอียดกล่าวต่างกัน
 
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับวัฒนธรรมในปัจจุบัน
1. ตราประจำจังหวัดของไทยที่มีพระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นองค์ประกอบ ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดตาก และจังหวัดหนองบัวลำภู
2.มีการสร้างพระบรมราชานุสรณ์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในหลายแห่งทั่วประเทศ เช่น พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ริมหนองบัวลำภู ในจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นต้น 
3.มีการนำพระนามของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไปตั้งเป็นชื่อของมหาวิทยาลัยนเรศวรและค่ายทหารต่างๆ ทั่วประเทศ เช่น ค่ายนเรศวร ที่จังหวัดลพบุรี ค่ายนเรศวรมหาราช ที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น ส่วนทางกรมตำรวจได้นำพระนามของพระองค์มาตั้งเป็นชื่อค่ายตำรวจตระเวนชายแดน ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรีว่า "ค่ายนเรศวร"้ ด้วยเช่นกัน
4.ชาว ไทยนิยมนำหุ่นรูปไก่ชนพันธุ์เหลืองหางขาวไปบนบานกับพระบรมรูปสมเด็จพระ นเรศวรมหาราช เพราะเชื่อกันว่าเป็นไก่พันธุ์เดียวกับตัวที่เอาชนะไก่ชนของพระมหาอุปราชา แห่งหงสาวดีได้
5.มีการนำพระราชประวัติของพระองค์ไปเขียนเป็นหนังสือการ์ตูนอยู่หลายครั้ง เช่น มหากาพย์กู้แผ่นดิน ผลงานของมนตรี คุ้มเรือน เป็นต้น
credit by

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2

       
 

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2                                   
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 มีพระนามเดิมว่า พระเชษฐาธิราช เป็นพระโอรสในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงครองราชย์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2034 และสวรรคตในปี พ.ศ. 2074 สิริครองราชย์ได้ 38 ปี รวมพระชนมพรรษาได้ 57 พรรษา เป็นที่เชื่อกันว่าเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวกับที่ปรากฏพระนามว่า " พระพันวษา " ในวรรณคดีพื้นบ้านเรื่องขุนช้างขุนแผน
                                                                                                    พระราชกรณียกิจ
ด้านพระศาสนา
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สร้างสถูปเจดีย์ขึ้น 2 องค์ เพื่อบรรจุ อัฐิสมเด็จ  พระ ราชบิดา และบรรจุอัฐิของพระเชษฐา นอกจากนี้ยังได้ทรงสร้าง พระวิหารหลวงขึ้นในวัดสุทธาวาสนี้ แล้วหล่อพระพุทธรูปองค์ใหญ่ด้วย ทองสัมฤทธิ์หุ้มทองคำ ถวายพระนามว่า พระศรีสรรเพชญ์           
ด้านการทหาร
มี การจัดตั้งกรมสุรัสวดีขึ้น(คือ สัสดี ในปัจจุบัน) กรมสุรัสวดีมีหน้าทำบัญชีหางว่าว แยกประเภทว่า ขุนนางผู้ใดมีเลกมนสังกัดจำนวนเท่าใด(เลก หมายถึง ไพร่มีหน้าที่ต้องเข้ารับราชการเป็นทหาร)ทรงจัดให้มีการจัดระเบียบกองทัพและ แต่งตำราพิชัยสงคราม ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้จัดทำบัญชีกำลังพล เมื่อปี พ.ศ.2061 เพื่อเกณฑ์พลเมืองเข้ารับราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน   
ด้านการจัดการภายในประเทศ
ทรง โปรดเกล้าฯให้ขุดคลองขึ้นเป็นครั้งแรกในคลอกสำโรงกับคลองทัพนางในเมือง พระประแดง เพื่อสะดวกแก่การคมนาคมและการเดินเรือระหว่างลำแม่น้ำเจ้าพระยากับคลองบางปะ กง                                                                 
ด้านการต่างประเทศ
ชาว โปรตุเกสตีเมืองมะละกาได้ ต่อมาชาวโปรตุเกสรู้ว่าเมืองมะละกาเป็นเมืองขึ้นของไทย เกรงว่าไทยจะยกทัพไปตีเอาเมืองคืน จึงแต่งทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย ชาวโปรตุเกสจึงได้ค้าขายกับไทยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวโปรตุเกสได้นำอารยธรรมมาเผยแพร่เป็นอันมาก ได้นำวิธีใช้ปืนไฟและวิชาทหารแบบยุโรปเข้ามาเผยแพร่ ได้มีชาวโปรตุเกสเข้ามารับราชการทหารไทย และเป็นกำลังในทางสงครามได้อย่างดี และได้ทำสัญญาทางราชไมตรี และทางการค้าต่อกัน เมื่อปี พ.ศ.2059 นับเป็นสัญญาฉบับแรกที่ไทยทำกับต่างประเทศ                      
ความสัมพันธ์กับอาณาจักรข้างเคียง     
พ.ศ. 2050 พระ เมืองแก้วเจ้าเมืองเชียงใหม่หวังจะแสดงอานุภาพด้วยการขยายอาณาเขต จึงยกทัพลงมาตีกรุงสุโขทัย ชาวเมืองรักษาเมืองไว้อย่างเข้มแข็งทัพเมืองเชียงใหม่ต้องยกถอยไป สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 รับสั่งให้พระยากลาโหมคุมกองทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ และตีได้เมืองแพร่                                                                                                                     พ.ศ. 2056 เมือง เชียงใหม่ได้ให้หมื่นพิงยียกทัพมาตีเมืองสุโขทัย และหมื่นมะลายกทัพมาตีเมืองกำแพงเพชร แต่ชาวเมืองก็รักษาเมืองไว้ได้ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 จึงยกทัพไปปราบปรามเมืองลำปาง แล้วยกทัพกลับมาและทรงเห็นว่าพระอาทิตยวงศ์พระราชโอรส มีพระชนมายุพอสมควรที่จะรับพระราชภาระของพระองค์ได้แล้ว จึงทรงสถาปนาขึ้นเป็นพระบรมราชาตำแหน่งพระมหาอุปราช และไปครองเมืองพิษณุโลก
ที่มา- http://www.thaifolkshop.com/doc/ayudhaya.htm      

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ


สมเด็จพระบรมไตรโลกนา
     
 

พระราชประวัติ
   
  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระราชสมภพที่อยุธยา
  แต่เติบโตและมีชีวิตในวัยเยาว์ที่พิษณุโลก  
  โดยเป็นพระโอรสในเจ้าสามพระยา มีพระราชมารดา
 
เชื้อสายราชวงศ์สุโขทัย
  พระราชกรณียกิจ
   ทรงปฏิรูปการปกครอง โดยทรงรวมอำนาจจากการปกครอง
  เข้าสู่ศูนย์กลาง  คือ ราชธานี และแยกฝ่ายทหาร และฝ่ายพลเรือน
  ออกจากกัน คือ ฝ่ายทหารมีสมุหพระกลาโหม
   เป็นหัวหน้ารับผิดชอบ ฝ่ายพลเรือนมีสมุหนายก
 
  เป็นหัวหน้ารับผิดชอบ มีผู้ช่วยคือ จตุสดมภ์
 
   
  เสด็จสวรรคต
 
 
 
     สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. 2031
  เมื่อพระชนมายุ 57 พรรษา ทรงครองราชย์ได้ 4๐ ปี
  ยาวนานที่สุดของอาณาจักรอยุธยา
 
 
    
    การจัดการปกครองส่วนภูมิภาคในสมัย
  สมเด็จพระบรมไตร โลกนาถ
    
 
  หัวเมืองชั้นใน  
  เช่น เมืองราชบุรี นครสวรรค์ นครนายก  เมืองฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี เป็นต้น
  จัดเป็นเมืองจัตวา พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้ที่เหมาะสมไปปกครอง
  แต่สิทธิอำนาจทั้งหมดยังขึ้นอยู่กับองค์พระมหากษัตริย์
     หัวเมืองชั้นนอกหรือเมืองพระยามหานคร  เช่น เมืองพิษณุโลก สุโขทัย
  นครราชสีมา และทวาย จัดเป็น เมือง เอก โท ตรี พระมหากษัตริย์
  ทรงแต่งตั้งพระราชวงศ์ หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปเป็นเจ้าเมือง
  มีอำนาจบังคับบัญชาเป็นสิทธิขาด เป็๋นผู้แทนองค์พระมหากษัตริย์
  มีกรมการปกครองในตำแหน่ง เมือง วัง คลัง นา เช่นเดียวกับของทางราชธานี  

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
 
 
 
 
 
 
พระราชประวัติ
       พระราชประวัติพ่อขุนรามคำแหงมหาราชตามความปรากฏในจารึกหลักที่ 1
 
มีใจความว่า  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์มีพระโอรสด้วยพระชายา
พระนามว่า นางเสือง 3 องค์ 
 
ระองค์ใหญ่สิ้นพระชนม์เสียตั้งแต่ยังเยาว์
 
พระองค์กลางทรงพระนามว่าบาลเมือง (ในหนังสือชินกาลมาลินีและสิงคนิทานเรียกว่า ปาลราช)
  
องค์ที่สามได้เสวยราชย์ต่อมาทรงพระนามว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
 
 
 
 
ภาพถอดตัวอักษรบางส่วน จากหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ด้านที่ 1
 
  พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน
ผู้ชายสาม ผู้หญิงสอง พี่เผือผู้อ้าย ตายจากเผือเตียมแต่ยังเล็ก   เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า
ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาท่เมืองตาก พ่อกูไปรบขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชนขับมาหัวขวา
ขุนสามชนเกลื่อนเข้า ไพร่ฟ้าหน้าใสพ่อกู หนีญญ่ายพ่ายจะแจ กูบ่หนี กูขี่ช้างเบกพล
กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช้างขุนสามชนตัวชื่อมาสเมืองแพ้
ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึงขึ้นชื่อกู ชื่อพระรามคำแหง เพื่อกูพุ่งช้างขุนสามชน  
 
    
อาณาเขต
  
 สมัยนี้เป็นยุคที่สุโขทัยเจริญรุ่งเรืองมากทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ ศาสนา และวัฒนธรรม
โดยเฉพาะการประดิษฐ์อักษรไทยใน พ.ศ.1826 ดัดแปลงมาจากขอม เป็นการแสวงหาวิธีการ
ที่จะให้ได้มาซึ่งเอกลักษณ์ของชาวไทย เพื่อให้ต่างไปจากขอมซึ่งมีอิทธิพลครอบงำขณะนั้น
รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรม ขนบประเพณีและการปกครอง โดยเฉพาะการขยาย
พระราชอาณาเขตออกไปกว้างขวาง 
  
 
 การปกครอง
 ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงวางพระองค์
อย่างบิดาปกครองบุตรด้วยการสอดส่องความเป็นอยู่ของราษฎร ใครทุกข์ร้อนจะทูลร้องทุกข์
เมื่อใดก็ได้โปรดให้แขวนกระดิ่งที่ประตูพระราชวัง เมื่อราษฎรมีทุกข์ก็ไปสั่นกระดิ่งนั้นให้ได้ยิน
ถึงพระกรรณได้เป็นนิจ ซึ่งวิธีการนี้เป็นที่มาของประเพณีซึ่งเรียกกันว่า "ตีกลองร้องฎีกา"  
 
 
การต่างประเทศ     
 ใน พ.ศ. 1835 ปรากฏในหลักฐานของจีนว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์สุโขทัยได้ส่ง
ทูตพร้อมด้วยพระราชสาส์นอักษรทองคำเป็นการเจริญพระราชไมตรีกับจีน
หลังจากนั้นในปี พ.ศ.1836
คณะทูตจีนก็เดินทางมาสุโขทัยอัญเชิญพระบรมราชโองการของจักรพรรดิจีน
ให้พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ไปเฝ้า แต่พระองค์มิได้ปฏิบัติตามแต่ประการใด
  
สรุปในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ส่งทูตเจริญราชไมตรีกับจีน 4 ครั้ง
คือ พ.ศ.1835, พ.ศ.1837, พ.ศ.1838, พ.ศ.1840  
 
   
 การพาณิชย์      
 สมัยสุโขทัยมีการพาณิชย์แบบเสรี มีตลาดมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน เจ้าเมืองมิได้เก็บภาษี
อากรแต่อย่างใด ดังความตอนหนึ่งในศิลาจารึกว่า  
"เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัยนี้ มีตลาดปสาน  
(คณะกรรมการชำระพจนานุกรมแห่งราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำว่า ปสาน ว่า
คือ ตลาดของแห้ง ที่ขายของแห้ง เทียบกับคำว่า bazaar ในภาษาเปอร์เซีย)  
และความอีกตอนหนึ่งว่า
"...เมื่อชั่วพ่อขุนราม เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีเข้า
เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย
ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า
ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทอง ค้า"