วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
 
 
 
 
 
 
พระราชประวัติ
       พระราชประวัติพ่อขุนรามคำแหงมหาราชตามความปรากฏในจารึกหลักที่ 1
 
มีใจความว่า  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์มีพระโอรสด้วยพระชายา
พระนามว่า นางเสือง 3 องค์ 
 
ระองค์ใหญ่สิ้นพระชนม์เสียตั้งแต่ยังเยาว์
 
พระองค์กลางทรงพระนามว่าบาลเมือง (ในหนังสือชินกาลมาลินีและสิงคนิทานเรียกว่า ปาลราช)
  
องค์ที่สามได้เสวยราชย์ต่อมาทรงพระนามว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
 
 
 
 
ภาพถอดตัวอักษรบางส่วน จากหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ด้านที่ 1
 
  พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน
ผู้ชายสาม ผู้หญิงสอง พี่เผือผู้อ้าย ตายจากเผือเตียมแต่ยังเล็ก   เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า
ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาท่เมืองตาก พ่อกูไปรบขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชนขับมาหัวขวา
ขุนสามชนเกลื่อนเข้า ไพร่ฟ้าหน้าใสพ่อกู หนีญญ่ายพ่ายจะแจ กูบ่หนี กูขี่ช้างเบกพล
กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช้างขุนสามชนตัวชื่อมาสเมืองแพ้
ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึงขึ้นชื่อกู ชื่อพระรามคำแหง เพื่อกูพุ่งช้างขุนสามชน  
 
    
อาณาเขต
  
 สมัยนี้เป็นยุคที่สุโขทัยเจริญรุ่งเรืองมากทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ ศาสนา และวัฒนธรรม
โดยเฉพาะการประดิษฐ์อักษรไทยใน พ.ศ.1826 ดัดแปลงมาจากขอม เป็นการแสวงหาวิธีการ
ที่จะให้ได้มาซึ่งเอกลักษณ์ของชาวไทย เพื่อให้ต่างไปจากขอมซึ่งมีอิทธิพลครอบงำขณะนั้น
รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรม ขนบประเพณีและการปกครอง โดยเฉพาะการขยาย
พระราชอาณาเขตออกไปกว้างขวาง 
  
 
 การปกครอง
 ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงวางพระองค์
อย่างบิดาปกครองบุตรด้วยการสอดส่องความเป็นอยู่ของราษฎร ใครทุกข์ร้อนจะทูลร้องทุกข์
เมื่อใดก็ได้โปรดให้แขวนกระดิ่งที่ประตูพระราชวัง เมื่อราษฎรมีทุกข์ก็ไปสั่นกระดิ่งนั้นให้ได้ยิน
ถึงพระกรรณได้เป็นนิจ ซึ่งวิธีการนี้เป็นที่มาของประเพณีซึ่งเรียกกันว่า "ตีกลองร้องฎีกา"  
 
 
การต่างประเทศ     
 ใน พ.ศ. 1835 ปรากฏในหลักฐานของจีนว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์สุโขทัยได้ส่ง
ทูตพร้อมด้วยพระราชสาส์นอักษรทองคำเป็นการเจริญพระราชไมตรีกับจีน
หลังจากนั้นในปี พ.ศ.1836
คณะทูตจีนก็เดินทางมาสุโขทัยอัญเชิญพระบรมราชโองการของจักรพรรดิจีน
ให้พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ไปเฝ้า แต่พระองค์มิได้ปฏิบัติตามแต่ประการใด
  
สรุปในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ส่งทูตเจริญราชไมตรีกับจีน 4 ครั้ง
คือ พ.ศ.1835, พ.ศ.1837, พ.ศ.1838, พ.ศ.1840  
 
   
 การพาณิชย์      
 สมัยสุโขทัยมีการพาณิชย์แบบเสรี มีตลาดมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน เจ้าเมืองมิได้เก็บภาษี
อากรแต่อย่างใด ดังความตอนหนึ่งในศิลาจารึกว่า  
"เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัยนี้ มีตลาดปสาน  
(คณะกรรมการชำระพจนานุกรมแห่งราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำว่า ปสาน ว่า
คือ ตลาดของแห้ง ที่ขายของแห้ง เทียบกับคำว่า bazaar ในภาษาเปอร์เซีย)  
และความอีกตอนหนึ่งว่า
"...เมื่อชั่วพ่อขุนราม เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีเข้า
เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย
ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า
ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทอง ค้า" 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น